หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)

(http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง  ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ 
                -   ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory)  คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
                      -   ทฤษฎีสนาม (Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน โลก ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                -   ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)  ของทอลแมน(Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
                -   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
                -   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย




(http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/171/782/original_cognitive.doc) ได้รวบรมและกล่าวไว้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้นกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์  การวางแผน  ความตั้งใจ  ความคิด  ความจำ  การคัดเลือก  การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ  ที่ได้จากประสบการณ์  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้
      
- กลุ่มพฤติกรรมนิยม  : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ
      - กลุ่มพุทธินิยม  :  อินทรีย์ต้องนำสิ่งเร้ามาคิด  วิเคราะห์  และให้ความหมายเพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม         -ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้  (Insight  Learning) ทฤษฎีการหยั่งรู้นี้เป็นการศึกษาทดลองของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเยกว่ากลุ่มเกสตอล (Gestalt)  ซึ่งประกอบด้วยนักจิตวิทยาที่สำคัญ  3  คน คือ เวอร์ไทเมอร์  คอฟฟ์ก้าและเคอเลอร์

http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Cognitive.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มพฤติกรรมนิยมแล้วเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้
      - กลุ่มพฤติกรรมนิยม : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ

       คำว่า  เกสตอล  (Gestalt)  หมายถึง  แบบแผนหรือภาพรวม  โดยนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญกับส่วนรวมหรือผลรวมมากว่าส่วนย่อย  ในการศึกษาวิจัยพบว่าการรับรู้ของคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย  ในการเรียนรู้และการแก้ปัญหาก็เช่นเดียวกัน  คนเรามักจะเรียนอะไรได้เข้าใจก็ต้องศึกษาภาพรวมก่อน  หลังจากนั้นจึงพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยจะทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น
      - ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ (Information  Processing  Model  of  Learning) 
         นักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยมมีความสนใจว่ามนุษย์มีวิธีการรับรู้ข้อมูลใหม่อย่างไร  เมื่อได้ความรู้แล้วมีวีการจำอย่างไร  สิ่งที่เรียนรู้แล้วจะมีผลต่อการเรียนข้อมูลใหม่อย่างไร  ด้วยความสนใจดังกล่าวจึงได้ทำการทดลองและตั้งเป็นทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศขึ้น  ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากในวงการศึกษา


       สรุป
      ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมองมีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
    
      เอกสารอ้างอิง
URL: http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm เข้าถึงวันที 26มิถุนายน 2554URL:
URL:   http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Cognitive.htm  เข้าถึงวันที 26มิถุนายน 2554URL: URL:  http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/171/782/original_cognitive.doc?  เข้าถึงวันที 26มิถุนายน 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ทิศนา เเขมมณี.(2551:45).กล่าวไว้ว่า
          นักคิดกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลวการกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ  พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดได้และทดสอบได้ ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3แนวคิด
            1).ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s  Connectionism) นักทฤษฎีคนสำคัญคือธอร์นไดค์ (..1814-1949)กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ คือ
                1.1) กฎแห่งความพร้อมเป็นการเรียนร้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งกายร่างกายและจิตใจ
1.2) กฎแห่งการฝึกหัด หรือ การทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร ถ้าไม่กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนนั้นจะไม่คงถาวร และในที่สุดอาจลืมได้
1.3) กฎแห่งการใช้การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้น หากได้มีการนำไปใช้บ่อยๆ
1.4) กฎแห่งผลที่พึงพอใจ คือเมื่อบุคคลใดรับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อย่างเรียนรู้ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
              2). ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
                2.1) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไข ที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2.2) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
2.3) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดกับสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อยๆ และหยุดลงในที่สุด หากได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
2.4) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องมีสิ่งเร้า
2.5) มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายๆกันและจะตอบสนองเหมือนๆกัน
2.6) บุคคลมีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
2.7) กฎแห่งการลดภาวะพาฟลอฟ กล่าวว่า ความเข้มของการตอบสนองจะลดลงเรื่อยๆ หากบุคคลได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างเดียว หรือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า ที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างกันออกไปมากขึ้น
2.8) กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ กล่าวคือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลง สามารถเกิดขึ้นได้อีก โดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่
2.9) กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่นๆ กล่าวคือ เมื่อเกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขแล้ว หากมีสิ่งเร้าคล้ายๆกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขมากระตุ้น อาจทำให้เกิดการตอบสนองที่เหมือนกันได้
2.10) กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง กล่าวคือหากมีการใช้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหลายแบบ แต่มีการใช้สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ก็สามารถทำให้เกิดการเรียนได้    
                             
3).ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์  (Hull’s Systematic Behavior Theory)
3.1) กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง กล่าวคือถ้าร่างการเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง
3.2) กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัยเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น แต่ละคนจะมีสิ่งเร้าต่างกันในระยะแรกการแสดงออกมีลักษณะง่ายๆต่อเมื่อเรียนรู้มากขึ้นก็สามารถเลือกแสดงการตอบสนองในระดับที่สูงขึ้น
3.3) กฎแห่งการใกล้จะบรรลุเป้าหมายเมื่อผู้เรียนยิ่งใกล้บรรลุเป้าหมายเท่าใดจะมีสมรรถภาพในการตอบสนองมากขึ้นเท่านั้น
(   http://puvadon.multiply.com/journal/item/5)  ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า
      ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี
            จุดเริ่มต้นของทฤษฎีการเรียนรู้ของเขามีรากฐานมาจาก ทฤษฎีการเรียนรู้ของวัตสัน คือ การศึกษาการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค หรือผลจากการแสดงปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) เน้นถึงการเรียนรู้แบบสัมพันธ์ต่อเนื่อง   แต่ต่อมาเขาได้พัฒนาทฤษฎีของเขาให้มีเอกลักษณะของตนมากขึ้น      กัทธรีกล่าวว่าการเรียนรู้ของอินทรีย์เกิดจากความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยเกิดจากการกระทำเพียงครั้งเดียว (One-trial Learning) มิต้องลองทำหลาย ๆ ครั้ง เขาเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าแสดงว่าอินทรีย์เรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อสิ่งเร้า ที่ปรากฏในขณะนั้นทันที และเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างสมบูรณ์ ไม่จำเป็นต้องฝึกหัดอีกต่อไป เขาค้านว่าการฝึกในครั้งต่อไปไม่มีผลให้สิ่งเร้าและการตอบสนองสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นขึ้นเลย (ซึ่งแนวความคิดนี้ตรงกันข้ามกับแนวความคิดของธอร์นไดค์ ที่กล่าวว่าการเรียนรู้จะเกิดจากการลองผิดลองถูก โดยกระทำการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง และเมื่อเกิดการเรียนรู้คือการแก้ปัญหาแล้วจะต้องมีการฝึกหัดให้กระทำซ้ำบ่อย ๆ

  กัทธรี กล่าวว่า สิ่งเร้า ที่ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขที่แท้จริง คือ
     1). การตอนสนองเกิดจากอินทร์เป็นผู้กระทำขึ้นเอง (Operant Behavior)
     2). การตอบสนองเกิดขึ้นโดยตั้งใจ หรือจงใจ (Voluntary Response)
     3). ให้ตัวเสริมแรงหลังจาก ที่มีการตอบสนองขึ้นแล้ว
     4). ถือว่ารางวัลหรือตัวเสริมแรงมีความจำเป็นมากต่อการวางเงื่อนไข ซึ่งเป็นไปตามกฎแห่งความพอใจ (Law of Effect)
     5). ผู้เรียนต้องทำอะไรอย่างหนึ่งอย่างใด จึงจะได้รับการเสริมแรง
     6). เป็นการเรียนรู้ ที่เกี่ยวกับการตอบสนองของกระบวนการทางสมองที่สูงกว่า อันมีระบบประสาทกลางเข้าไปเกี่ยวข้อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ (ทิศนา  แขมมณี. 2548 : 57)
       1). การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
       2).การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
       3).การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
       4). การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีย์กระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้


( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  ได้กล่าวและรวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี – ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ  พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่นี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
          1)  ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike)มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด
          2  ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้ 

                 1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 
                 2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน 
                 3)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ  
                 4)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล
        3)ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย 

         สรุป
ทฤษฎีกลุ่มนี้เน้นการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ  พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบ

     เอกสารอ้างอิง
URL:  ( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)  เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2554
 URL:( http://puvadon.multiply.com/journal/item/5) เข้าถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2554
ทิศนา แขมมณี.(2551).ศาสตร์การสอน.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception หรือ Herbartianism)

ทิศนา เเขมมณี.(2551:45).กล่าวไว้ว่า 
นักคิดคนสำคัญในกลุ่มคือ จอร์น  ล็อค (John  Locke) วิลเฮล์ม  วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชเชเนอร์(Titchener)และแฮร์บาร์ต(Herbart)ซึ่งมีความเชื่อดังนี้(Bigg,1964:33-47)

ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
  1).มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตังเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม (neutral-passive)
  2).จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า( tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆในหลายๆทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
  3).วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2ส่วนคือการสัมผัสทั้ง5(sensation )และการรู้สึก(feeling)คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
  4).ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่จินตนาการ (imagination)คือการคิดวิเคราะห์
  5).แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี3ระดับคือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sense activity) ขั้นการจำความคิดเดิม (memory  characterized) และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์ หรือความรู้เหล่านี้ไว้  การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อยๆเมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านทางกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน (apperception)
  6).แฮร์บาร์ตเชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปจึงจะช่วย ให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ๆ

 (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  

http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7 )ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

     สรุป  คนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่าเปล่า การที่จะเรียนรู้ได้นั้นจะต้องได้รับประสบการณ์ผ่าทางประสาทสัมผัสทั้ง5 และความรู้สึก โดยมีการเชื่อโยงความคิดระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน
  
    เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.(2551).ศาสตร์การสอน.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร
URL:( http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7 )เข้าถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ( Natural Unfoldment)

ทิศนา เเขมมณี.(2551:45).กล่าวไว้ว่า 
นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รุสโซ (Rousseau)ฟรอเบล  (Froebel)และเพสตาลอสซี(Pestalozzi)นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้

ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 
  1).มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี และการกระทำใดๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในของมนุษย์(good-active)
  2).ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรุ้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
  3).รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆเด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
  4).รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ เด็กจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตนมิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากการพูดบรรยาย
  5).เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่าคนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือคนสัตว์ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลสคนสังคมมีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคมและคุณธรรมซึ่งเป็นลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดีคนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะดังกล่าว
  6).เพสตาลอสซี เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
  7).ฟรอเบล เชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็กอายุ 3-5 โดยเด็เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
  8).ฟรอเบลเชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก

หลักการจัดการศึกษา / การสอน
  1).การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่นๆ
  2).การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
  3).ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือ การจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติ ได้แก่
         3.1ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
         3.2 ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
         3.3 ให้เด็กได้เรียนจากของจริง และประสบการณ์จริง
         3.4ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
  4).การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกตางระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

(http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7  ) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน 

    สรุป การเรียนรู้ที่ดีได้นั้นจะต้องเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะธรรมชาติก็ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแหล่งหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และจะต้องมีการจัดแหล่งประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยตรง

    เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.(2551).ศาสตร์การสอน.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร
URL:( http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) เข้าถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2554

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

1.ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20และการประยุกต์สู่การสอน
     
     1.1).ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)
ทิศนา เเขมมณี.(2551:45).กล่าวไว้ว่า 
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็ได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น นักคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ(Bigge,1964:19-30) 
       กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Discipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St.Augustine) จอห์น คาลวิน ( John Calvin) และคริสเตียนโวล์ฟ(Christian Wolff )นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ดังนี้

ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
   1).มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว และการกระทำใดๆของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
   2).มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
   3).สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วนๆ(faculties)ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้
   4)การฝึกสมอง หรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์คนดีและฉลาด
   5).การฝึกสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยากเช่น วิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีก
 และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น

หลักการจัดการศึกษา / การสอน
   1).การฝึกสมองหรือการฝึกระเบียบของจิตอย่างเข้มงวด เป็นสิ่งสำคัญในการฝึกให้บุคคลเป็นคนฉลาดและคนดี
   2).การฝึกจิตจะต้องทำอย่างเข้มงวด เพื่อให้จิตเข้มแข็ง การบังคับลงโทษ เป็นสิ่งจำเป็นถ้าผู้เรียนไม่เชื่อฟัง
   3).การจัดให้ผู้เรียนได้รับเนื้อหาวิชาที่ยาก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติล และภาษากรีกจะช่วยฝึกฝนสมอง ให้เข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
  4).การจัดให้ผู้เรียนได้ศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและยึดถือในพระเจ้าจะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนดี

     1.2). ทฤษฎีของกลุ่มเชื่อในความมีเหตุผลของมุนษย์  (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato)และอรัสโตเติล (Aristotle)นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อคังนี้

ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
  1).พัฒนาการในเรื่องต่างๆเป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
  2).มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน
(neutral -active)
  3).มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตัวเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็สามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
  4).มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาด การกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา

หลักการจัดการศึกษา / การสอน
  1).การพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
  2).การพัฒนาผู้เรียนไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับ เคี่ยวเข็ญ แต่ควรใช่เหตุผล เพราะมนษย์เกิดมาพร้อมกับความสามารถในการใช้เหตุผล
  3).การใช้วิธีสอนแบบโสเครตีส คือ การใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้เห็นกระจ่างชัด เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  4).การใช้วิธีสอนแบบบรรยาย (Didactic Method) คือการสอนที่ใช่คำถามฟื้นความจำของผู้เรียนแล้วเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน เป็นวิธีสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีหนึ่ง

(http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา 

      สรุป  ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) เน้นการฝึกจิตหรือสติปัญญาของสมอง โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยาก ยิ่งยากมากขึ้นจิตก็จะมีความแข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น เป็นการใช้จิตเพื่อฝึกพัฒนาความคิดเเละกระตุ้นให้นักเรียนเเสดงออกโดยการใช้คำถาม  ถามผู้เรียนเเละจะเน้นการฝึกประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้

    เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.(2551).ศาสตร์การสอน.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร
URL: (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) เข้าถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2554