การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาว์ปัญญาของบุคคลมี 8 ประการด้วยกัน ได้แก่
1.1) เชาว์ปัญญาด้านภาษา
1.2) เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
1.3) สติปัญญาด้านมิตรสัมพันธ์
1.4) เชาว์ปัญญาด้านดนตรี
1.5) เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
1.6) เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น
1.7) เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
1.8) เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ
2. เชาว์ปัญญาของแต่ละคนจะไม่อยู่คงที่ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.กล่าวไว้ว่า
ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ (Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี ค.ศ. 1983 เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาว์ปัญญา” เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ในปัจจุบัน
ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ (Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ในปี ค.ศ. 1983 เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาว์ปัญญา” เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ในปัจจุบัน
- แนวคิดเกี่ยวกับเชาว์ปัญญา (Intelligences) ที่มีมาตั้งแต่เดิมนั้น จำกัดอยู่ที่ความสามารถด้านภาษา ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และการคิดเชิงตรรกะหรือเชิงเหตุผลเป็นหลัก การวัดเชาวน์ปัญญาของผู้เรียนจะวัดจากคะแนนที่ทำได้จากแบบทดสอบทางสติปัญญา ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบความสามารถทั้ง 2 ด้านดังกล่าว คะแนนจากการวัดเชาว์ปัญญาจะเป็นตัวกำหนดเชาว์ปัญญาของบุคคลนั้นไปตลอด เพราะมีความเชื่อว่า องค์ประกอบของเชาวน์ปัญญาจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยหรือประสบการณ์มากนัก แต่เป็นคุณลักษะที่ติดตัวมาแต่กำเนิด การ์ดเนอร์ (Gardner, 1983) ให้นิยามคำว่า “เชาวน์ปัญญา” (Intelligence) ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถใจการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้ การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
- เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ซึ่งเขาบอกว่า ความจริงอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
- เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ซึ่งเขาบอกว่า ความจริงอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่าง ๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
ในความคิดของการ์ดเนอร์ เชาวน์ปัญญาของบุคคลประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการคือ
1) ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติและตามบริบททางวัฒนธรรมของบุคคลนั้น
2) ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพและสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
3) ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
โฮเวิรด์ การ์ดเนอร์ (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=537.0) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไวว่า ผู้ซึ่งได้แสดงแนวคิดของเขาไว้ในหนังสือ Frames of Mind ที่ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 เขาได้กล่าวเกี่ยวกับแนวคิดของเขาว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความฉลาด แต่ความฉลาดของแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย” ซึ่งจากคำกล่าวนี้เองจึงเป็นที่มาของทฤษฎีพหุปัญญา ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างมากมายในโลกยุคปัจจุบัน
การ์ดเนอร์ กล่าวว่า พหุปัญญา เป็นแนวคิดของพหุปัญญาในเรื่องที่เกี่ยวกับความเก่งความฉลาดของบุคคล โดยความเก่งความสามารถและความฉลาดดังกล่าวนั้นถูกควบคุมโดยสมอง แต่ละส่วน หากสมองส่วนที่ควบคุมความเก่งนั้นได้รับความกระทบกระเทือนจนผิดปกติก็จะทำให้ความเก่งด้านนั้นหมดไปหรือพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หรือไม่สามารถแสดงออกซึ่งความเก่งนั้น ๆ ได้
พหุปัญญา หมายถึง สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มี ความสามารถที่มาจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วน และการพัฒนาสมองต้องได้รับการเลี้ยงดูจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย คิดอย่างมีเหตุผลและต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้พัฒนา ความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โฮเวิรด์ การ์ดเนอร์ (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=537.0) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไวว่า ผู้ซึ่งได้แสดงแนวคิดของเขาไว้ในหนังสือ Frames of Mind ที่ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 เขาได้กล่าวเกี่ยวกับแนวคิดของเขาว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความฉลาด แต่ความฉลาดของแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย” ซึ่งจากคำกล่าวนี้เองจึงเป็นที่มาของทฤษฎีพหุปัญญา ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างมากมายในโลกยุคปัจจุบัน
การ์ดเนอร์ กล่าวว่า พหุปัญญา เป็นแนวคิดของพหุปัญญาในเรื่องที่เกี่ยวกับความเก่งความฉลาดของบุคคล โดยความเก่งความสามารถและความฉลาดดังกล่าวนั้นถูกควบคุมโดยสมอง แต่ละส่วน หากสมองส่วนที่ควบคุมความเก่งนั้นได้รับความกระทบกระเทือนจนผิดปกติก็จะทำให้ความเก่งด้านนั้นหมดไปหรือพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หรือไม่สามารถแสดงออกซึ่งความเก่งนั้น ๆ ได้
พหุปัญญา หมายถึง สติปัญญาความสามารถที่หลากหลายของบุคคลที่มี ความสามารถที่มาจากการถูกควบคุมโดยสมองแต่ละส่วน และการพัฒนาสมองต้องได้รับการเลี้ยงดูจากสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การส่งเสริมความสามารถทางสติปัญญาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย คิดอย่างมีเหตุผลและต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อให้พัฒนา ความสามารถทางสติปัญญาของบุคคลในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป ทฤษฎีพหุปัญญา เน้นการมีความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมหรือมี ความสามารถในการใมีความคิดที่สร้างสรรค์เเละมีสติปัญญาความสามารถที่หลากหลายโดยความเก่งความสามารถและความฉลาดดังกล่าวนั้นถูกควบคุมโดยสมอง
เอกสารอ้างอิ'
URL: (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=537.0) เข้าถึงวันที่ 23 กรกฎาคม2554
เอกสารอ้างอิ'
URL: (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=537.0) เข้าถึงวันที่ 23 กรกฎาคม2554
URL: (http://dontong52.blogspot.com/) เข้าถึงวันที่ 23 กรกฎาคม2554
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น