(http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีการเรียนรู้ยังสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ
1) กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
2) กลุ่มความรู้ (Cognitive)
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) กล่าวไว้ว่า ปฏิกริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
กลุ่มความรู้ (Cognitive)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Perceptual experience)ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1) ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2) สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3) การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4) การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
1) ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ
2) ความเข้าใจ (understanding) ก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล
3) ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นใน
โดยสรุป ทฤษฎี การเรียนรู้นี้ สามารถช่วยให้เกิดความคิด ดังเช่น แว่นตาที่ช่วยเราปรับให้เกิดความชัดเจนในประสบการณ์ทางการศึกษา การวางเงื่อนไขหรือการสร้างไว้ในคำแนะนำเพียงหนึ่งเดียว น่าจะไม่เพียงพอ ซึ่งควรจะต้องใช้แว่นตาทั้งใกล้และไกล ปรับระดับความชัดเจนและหลอมรวมทฤษฎีเหล่านี้ในการคิดเชิงสร้างสรรค์ผลงาน /ภาระงานที่ต้องการด้วยสายตาที่มองเห็นถึงความแตกต่างเพียงเล็กน้อยก็ตาม
ดังนั้น การประเมินผลเพื่อตัดสินใจในบางอย่างต่อการวางแผนจึงจะเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งนี้ยังมีอีกหลายทฤษฎีการเรียนรู้อื่นๆ อีกเช่นกันที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย เช่นกัน
(http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์สัน
1) องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
- การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
- การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
- ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
- การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
- การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
2. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
- มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
- มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
- มุขภาพจิตดีขึ้น
3) ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
- กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
- กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
- กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร
1) องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
- การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
- การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
- ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
- การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
- การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
2. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
- มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
- มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
- มุขภาพจิตดีขึ้น
3) ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
- กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
- กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
- กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร
สรุป
ทฤษฎี การเรียนรู้นี้ สามารถช่วยให้เกิดความคิด ประสบการณ์ทางการศึกษา การวางเงื่อนไขหรือการสร้างไว้ในคำแนะนำเพียงหนึ่งเดียว และหลอมรวมทฤษฎีเหล่านี้ในการคิดเชิงสร้างสรรค์ผลงาน /ภาระงานและ ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนที่สำคัญ ๆ ได้รับการพัฒนาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายลักษณะการเกิดการเรียนรู้ หรือการเปลี่ยนปลงพฤติกรรม จะใช้หลักจิตวิทยาใดควรคำนึงถึงบริบทของสังคมนั้น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา
เอกสารอ้างอิง
URL: (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น